รู้จัก อภิปรายไม่ไว้วางใจ คืออะไร เริ่มวันไหน ดูผ่านช่องอะไรบ้าง มีคำตอบ

รู้จัก อภิปรายไม่ไว้วางใจ คืออะไร เริ่มวันไหน ดูผ่านช่องอะไรบ้าง มีคำตอบ

ทำความรู้จัก อภิปรายไม่ไว้วางใจ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับรัฐบาลและประชาชนคนไทย การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยสามารถดูได้ที่ช่องทางไหน วันไหนบ้าง ทีมงานได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้แล้ว เช็กได้ที่นี่

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีขึ้นในทุก ๆ ปี 

อันเนื่องมาจากการทำงานที่ผิดปกติของรัฐบาลทำให้สามารถโดนฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ The Thaiger จะพาไปทำความรู้จักการอภิปรายไม่ไว้วางใจให้มากลึกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน วันที่จัดให้รับได้สด ๆ เวลากี่โมง และดูได้ที่ไหน ไปอ่านกันเลย

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ วิธีการตรวจสอบการจัดการและการบริหารงานของรัฐบาลไทยรูปแบบหนึ่งที่ทาง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติกระบวนการดังกล่าวไว้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ แต่หลักการสำคัญได้แตกต่างไปจากเดิมคือการเพิ่ม “การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล” ซึ่งได้ถูกยกมาใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นกัน

การอภิปรายไม่ไว้วางใจสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประการ ดังนี้

1. การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

2. การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ก.) จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่อยู่ในสภา โดยทั่วไปคือประมาณ 100 คน มีสิทธิลงนามเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติขออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ หากทำการเสนอญัตติเรียบร้อยแล้ว นายกรัฐมนตรีจะไม่มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพราะต้องการป้องกันไม่ให้รัฐมนตรีหลีกหนีออกจากการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ

การออกเสียงลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีและทั้งคณะ ต้องห้ามกระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายไม่ไว้วางใจสิ้นสุด หรือวันสุดท้ายของการอภิปราย เพื่อที่จะให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ทบทวนความคิดและไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน โดยการออกเสียงมติไม่ไว้วางใจจำเป็นต้องมีคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ในสภา โดยปกติแล้วจะเท่ากับหรือเกินจำนวน 251 เสียง รวมทั้งเสียงของสมาชิกวุฒิสภาด้วยเช่นกัน และหากลงมติไม่ไว้วางใจสำเร็จ นายกรัฐมนตรีจะต้องพ้นจากตำแหน่งทันทีตามที่มาตรา 170 ประกาศไว้ นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเช่นกันตามที่มาตรา 167 ประกาศไว้

การอภิปรายไม่ไว้วางใจของรัฐบาลไทย ล่าสุด จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคม – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งจะมีการอภิปรายในเนื้อหา “การทำงานตลอด 8 ปีที่บริหารราชแผ่นดินไทยของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความผิดพลาด และล้มเหลว โดยที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับประเทศได้” โดยในวันที่ 19 ก.ค. – 22 ก.ค. 65 จะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนวันที่ 23 จะเป็นการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากคะแนนไม่ไว้วางใจมากกว่าครึ่งหนึ่ง นายกรัฐมนตรีและคณะก็จะถูกปลดออกจากตำแหน่งทันที

สำหรับวันนี้ที่เป็นวันแรกของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 19 ก.ค. 65 ผู้นำฝ่ายค้านจะแถลงญัตติและอภิปรายขยายเนื้อความในญัตติ และจะมีการคณะรัฐมนตรีอีก 5 คน โดยจะจัดการถ่ายทอดสดให้ได้รับชมกันได้ฟรี ซึ่งช่องทางออนไลน์ที่สามารถรับชมได้ที่ช่องยูทูบของสำนักข่าวในประเทศไทย ตั้งแต่เวลาช่วงเช้าจนครบเวลาประมาณ 14 ชั่วโมงต่อวัน

ฮือฮาชาวบ้าน พบแมวสองหน้า เจ้าของเผย ต้องป้อนนมทีละปาก แทบไม่ได้นอน

ฮือฮาชาวบ้าน พบ แมวสองหน้า จังหวัด ลำปาง เจ้าของเผย ต้องป้อนนมทีละปาก พร้อมตั้งชื่อซีกขวาว่าถุงเงิน ซีกซ้ายถุงทอง วันที่ 19 ก.ค. 2565 มีรายงานว่ามีแมวมาคลอดลูกที่บ้านหลังหนึ่งใน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โดยพบว่า ลูกแมวไม่ทราบเพศ มี 2 หน้า 2 จมูก 2 ปาก 2 หู 4 ตา หรือที่ใครๆเรียกกันว่า แมวสองหน้า

โดยทางเจ้าของแมว ได้บอกกล่าวว่า เจ้าเหมียวแม่แมวอายุ 2ปี ได้คลอดลูกในช่วง วันที่ 10 ก.ค. 2565 หลังจากที่คลอดลูกตัวแรก เจ้าเหมียวก็ไม่สามารถคลอดลูกที่เหลือ จนผ่านเวลาไปกว่า 6 ชั่วโมง แต่ยังไม่สำเร็จ สุดท้ายเจ้าของตัดสินใจรีบพาเจ้าเหมียวไปหาสัตว์แพทย์ทันที ในที่สุดเจ้าเหมียวได้คลอดลูกออกมาจนได้ แต่พบว่าลูกแมวตัวดังกล่าว มี 2 ใบหน้า ต่างจากลูกแมวตัวอื่นๆอีก 3 ตัว

เจ้าของยอมรับว่า คิดว่าน้องจะตายแน่ๆ แต่ว่าน้องสู้ชีวิตอย่างมาก ตนจึงต้องป้อนนมแพะสลับหน้าแทบทั้งวันทั้งคืน ไม่ได้นอนเลย ซึ่งเจ้าของมีความคิดจะยกให้คนอื่นมาดูแลแทนตนเพราะตนไม่มีประสบการณื แต่สุดท้ายได้ตัดสินใจจะดูแลน้องให้ดีที่สุด โดยตั้งชื่อลูกแมวว่า ถุงเงิน (ใบหน้าซีกขวา) และถุงทอง(ใบหน้าซีกซ้าย)

ผู้ป่วยรายนี้อายุ 90 ปี เป็นเบาหวาน ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนซ้ำอีก มีอาการน้อยมากต่างจากครั้งแรก เพราะมีภูมิคุ้มกันมากเพียงพอ แม้จะป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้ แต่ช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า